วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Exhibition

ภาพบรรยากาศวันที่ 7 พ.ค. 2560 แสดงผลงานจริงที่พิพิธภัณฑ์เด็กทุ่งครุ
กลุ่มที่ 5 ดวงดาวแห่งรัตติกาล












วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ข้อมูลที่เก็บได้จากวันแสดงผลงาน + reflection

คะแนนที่น้องได้จากการโยนลูกบอล
     -ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 80 - 190 กว่าคะแนน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของน้องๆ และความแม่นยำในการปาด้วย 

การตอบคำถาม
     -หลังจากน้องเล่นเกมเสร็จ ก่อนแจกของรางวัลและสติ้กเกอร์จะมีถามคำถามเพื่อทบทวนความรู้ของน้องๆ ไปด้วย คำถามที่ถามจะถามวนไปวนมา เช่น กรุ๊ปโอสามารถให้กรุ๊ปอะไรได้บ้าง กรุ๊ปอะไรที่รับได้ทุกกรุ๊ปเลย แล้วกรุ๊ปเอให้อะไรได้บ้าง กรุ๊ปบีรับอะไรได้บ้าง เป็นต้น
ในจำนวนเด็ก 30 คนที่เราได้ถาม มีความถูกต้องแม่นยำคิดเป็นร้อยละ 73.33 เด็กที่ตอบคำถามอยู่ในช่วงอายุประมาณ 5-15 ปี 
     -จากการตอบคำถามพบว่า เด็กที่อายุมากกว่าจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีกว่า อาจจะเป็นเพราะเนื้อหาของเรายากเกินไปสำหรับเด็กเล็ก หรือเด็กปฐมวัย ดังนั้นเด็กที่จะเริ่มเข้าใจจริงๆ จะอยู่ในช่วงอายุ 8 ปีขึ้นไป

การวัดความพึงพอใจของชิ้นงานของเรา
     -วิธีการวัดมี 2 วิธี คือ ให้ปั๊มแสตมป์ มี 3 ระดับคือ ดี ปานกลาง(พอใช้) ปรับปรุง
     -ถ้าเป็นผู้ปกครอง หรือเด็กที่โตแล้ว อ่านออกเขียนได้ จะให้เขียนโพสอิท
  



มี 4 ข้อให้น้องให้คะแนน มี ความสนุก ระยะเวลาเหมาะสม เข้าใจได้ง่าย และ ความชอบ
จากที่ให้น้องๆ ปั๊มให้คะแนน ได้ผลมาดังนี้
     -แท่งสีฟ้า แดง ส้ม แสดงถึงความพึงพอใจระดับ ดี ปานกลาง ปรับปรุง ตามลำดับ
     -เห็นได้ชัดว่า ในส่วนของเนื้อหาที่ต้องทำความเข้าใจนั้น ยังต้องปรับปรุงอีกมาก แต่ในเรื่องความ entertain (ความสนุก ความชอบ) เด็กๆค่อนข้างพึงพอใจมาก เรื่องระยะเวลานั้น อาจจะต้องมีปรับให้เลือกเวลาได้ เป็นต้น
หมายเหตุ: คะแนนรวมแต่ละข้อไม่เท่ากัน เนื่องจากน้องบางคนปั๊มไม่ครบทุกข้อ







     -โพสอิทนี้เป็นส่วนที่ให้ผู้ปกครองของน้องๆ หรือเด็กที่ค่อนข้างโตแล้ว รวมถึงรุ่นพี่บางส่วนเขียน comment ตู้เกมนี้ให้

ในส่วนของข้อมูลที่ได้จากการสังเกต พบว่า
    -เด็กๆ ส่วนใหญ่ที่เข้าใจเนื้อหา จะมีช่วงอายุ 8 ปีขึ้นไป
    -เด็กเล็กๆ ช่วง 3-4 ปี จะไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหานัก จะเข้าใจแค่ต้องโยนยังไงถึงจะได้คะแนน หรือไม่ก็จะโยนแค่ลูกบอลสีเหลือง(แทนกรุ๊ปโอ) อย่างเดียว เนื่องจากสามารถโยนใส่ได้ทุกหลุม แต่ก็ไม่ได้เข้าใจถึงเรื่องกรุ๊ปเลือด
     -เด็กที่โตกว่า 3-4 ปีบางคนก็ยังเลือกโยนแค่ลูกบอลสีเหลือง เพื่อเก็บแต้มให้ได้เยอะๆ
     -เนื้อหา content จริงๆ ของกลุ่มเรายังเข้าใจได้ยากเกินไป เพราะเราทำสำหรับเด็กที่ค่อนข้างโตแล้ว แต่ตู้เกมของเรามีเด็กเล็กๆ 3-4 ปีมาเล่นเยอะ ทำให้น้องๆ ไม่เข้าใจ
     -เด็กๆ สนุกกับการโยนลูกบอล น้องๆ ส่วนใหญ่บอกว่าโยนสนุกมาก ชอบ
     -เด็กๆ บางคนเห็นเครื่องปิดอยู่(ตอนพัก) ก็ยังอยากเล่นอยู่ คือโยนอย่างเดียวก็สนุกแล้ว

สรุปผลข้อมูลที่เก็บ (โดยภาพรวม)
     จากที่ไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ พบว่า เด็กๆ ที่มาพิพิธภัณฑ์ มีหลายช่วงอายุ เนื้อหาที่เลือกทำจะเหมาะกับเด็กที่ค่อนข้างโตแล้วคือ 8 ปีขึ้นไป ดังนั้นในส่วนของเนื้อหา ถ้าปรับปรุงให้เข้ากับเด็กเล็กได้มากขึ้นก็น่าจะทำให้น้องๆ ได้เข้าใจมากขึ้น
     ในเรื่องของป้ายที่ใช้ประกอบยังมีบางส่วนที่ยังอธิบายได้ไม่ละเอียดมาก อีกทั้งยังสูงเกินความสูงเด็กๆ โดยเฉลี่ยไปเยอะ ทำให้น้องๆ อ่านไม่เห็น หรือเด็กบางคนยังอ่านหนังสือไม่ได้ก็จะไม่อ่าน จะดูรูปอย่างเดียว แต่รูปเราไม่ได้เชื่อมโยงกัน อาจจะทำให้น้องๆ งงได้
     ในส่วนของลักษณะ วิธีการเล่น ที่ต้องโยนลูกบอลได้รับการตอบรับที่ดีมากๆ จากน้องๆ เพราะเด็กๆ ชอบมาก บางคนมาเล่นหลายรอบ บางคนไม่ต้องเปิดเครื่องก็อยากเล่นแล้ว

สรุปผลสิ่งที่ได้เรียนรู้
     จากการทำ inventor studio project ในครั้งนี้ ได้ทำสิ่งใหม่ๆ หลายอย่าง และทุกอย่างที่ทำได้นำไปใช้กับ user จริงๆ ไม่ใช่แค่ส่งงาน ได้คะแนนแล้วก็จบไป ได้พัฒนาตนเองหลายๆ เรื่อง เช่นการปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่น การเข้าหาคนที่ต่างช่วงอายุกับเรา ทั้งเด็กและผู้ใหญ่กว่า ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกจินตนาการในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้กับ user 
     ได้บูรณาการความรู้หลายวิชาเข้าด้วยกัน คือใช้วิชา structure design 1 ในการออกแบบโครงสร้างหลักของตู้เกม (ส่วน mechanism) และใช้ความรู้จากวิชา circuit, programming, digital ในการทำให้ตู้เกมของเราสามารถเล่นเกมได้
     จากครึ่งเทอมแรกที่ได้เรียนวิธีการทำงาน การออกแบบชิ้นงานที่เป็นขั้นตอน วิธีที่ได้เรียนนั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ทำให้เรารู้ความต้องการของ user จริงๆ หรือแม้กระทั่งนำไปปรับใช้กับตนเอง เพื่อให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของตนก็ยังได้
      




วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปแผนการทำงาน

เริ่มนับเวลาการทำงาน หลังจากสอบกลางภาคเสร็จ เริ่มเฟสงานวันที่ 1 เม.ย. 2560

อาทิตย์ที่ 1.....................................................................................................................27 มี.ค. - 2 เม.ย.
     -วางแผนงาน ออกแบบงาน ออกแบบผังการทำงานของโปรแกรม
     -ซื้อของใช้ที่จำเป็นสำหรับการเริ่มทำงาน เช่นโครงเหล็ก, arduino, 7-segment, relay





   
อาทิตย์ที่ 2.....................................................................................................................3 เม.ย. - 9 เม.ย.
     -ขึ้นโครงคร่าวๆ ของตู้เกม ส่วนที่เป็นโครงเหล็ก
     -เริ่มเขียนโปรแกรมใส่ตัว controller เพื่อใช้คุมตู้เกม
     -สั่งไม้อัด ไม้โครง
     -นำไม้อัดที่สั่งมาวัด ตัด
     -ขึ้นโครงไม้ส่วนปากหลุมกับหน้าจอ
     -ทำ support ตู้เพิ่ม เพราะตอนแรกตู้เอียงง่าย




อาทิตย์ที่ 3.....................................................................................................................10 เม.ย. - 16 เม.ย
     -ซื้อผ้าดำ และเย็บผ้าคลุมตู้ทั้งหมด
     -ซื้อลูกบอลไว้สำหรับโยน
     -ทำวงจร circuit บางส่วน เช่น relay, 7-segment



อาทิตย์ที่ 4....................................................................................................................17 เม.ย. - 23 เม.ย.
     -เริ่มนำส่วนelectronics มารันรวมกัน
     -ทำวงจร circuit เพิ่ม
     -แก้ไขปัญหา และข้อผิดพลาดของวงจร electronics

อาทิตย์ที่ 5....................................................................................................................24 เม.ย. - 30 เม.ย.
     -ตกแต่งหน้าจอ
     -ทำปากหลุม
     -ซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมมาตกแต่งตู้เกม
     -ทำเสาสำหรับผ้าดำเพื่อกั้นเป็นห้อง
     -เปลี่ยนอุปกรณ์ electronics บางตัว


อาทิตย์ที่ 6 (อาทิตย์สุดท้ายก่อนวันแสดงจริง)...................................................................1 พ.ค. - 7 พ.ค.
     -ประกอบโครงทั้งหมด (โครงเหล็ก แผ่นไม้ปิดด้านข้างตู้ ส่วนปากหลุม ส่วนการไหลของลูกบอล และ
หน้าจอ) เข้าด้วยกัน พร้อมกับนำ electronic และแผงควบคุมมาประกอบเข้าด้วยกัน
     -ลองใช้งานจริง
     -เช็คการทำงานของตู้เกมว่ามีข้อผิดพลาดอะไรหรือเปล่า
     -แก้ไขข้อผิดพลาด






แผนการวัดผล

วัตถุประสงค์
     1. น้องรู้ว่าเลือดหมู่ไหนให้เลือดหมู่ไหนได้บ้าง
     2. น้องได้เคลื่อนไหวร่างกายระหว่างทำกิจกรรม
     3. น้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับหมู่เลือดมากขึ้น
     4. น้องสนุกกับกิจกรรมที่เราจัดขึ้น

ตัวชี้วัด
     1. คะแนนที่น้องได้จากการโยนลูกบอล
     2. การตอบคำถาม โดยเราจะเป็นผู้ถาม
     3. วัดความพึงพอใจของน้องจากการใช้งานชิ้นงานของเรา โดยการใช้ตัวปั๊มเป็นการให้คะแนน มีเกณฑ์ความพึงพอใจ 3 ระดับ คือ ดีมาก ปานกลาง และปรับปรุง
          3.1. วัดความพึงพอใจของผู้ปกครอง ผ่านการให้เขียนความรู้สึกลงบนกระดาษโพสอิท

วิธีการวัดผล
     -ในการวัดวัตถุประสงค์ข้อ 1 จะใช้ตัวชี้วัด 1 (คะแนนที่น้องได้จากการโยนลูกบอล) และตัวชี้วัด 2 (การตอบคำถาม) ในการวัด โดยตัวคะแนนที่น้องได้จะเป็นตัวบอกความแม่นยำเบื้องต้น เนื่องจากว่า เลือด1หมู่ สามารถให้และรับได้มากกว่า1 หมู่ (เช่น หมู่โอ ให้ได้ทุกหมู่เลือด) หรือเลือดบางหมู่มีข้อแม้ในการรับ (เช่น เลือดหมู่โอสามารถรับได้เพียงแค่หมู่โอเท่านั้น) ดังนั้น จะใช้การตอบคำถามมาช่วยวัดเรื่องความเข้าใจของน้องๆด้วย
     -เราจะสามารถวัดผลวัตถุประสงค์ข้อ 2 ได้จากการให้น้องเล่นเครื่องเล่นของเรา
     -การวัดผลวัตถุประสงค์ข้อ 3 วัดได้จากการตอบคำถามของน้องๆ
     -วัตถุประสงค์ข้อ4 วัดจากการให้คะแนนความพึงพอใจของน้องๆ (ใช้ตัวชี้วัดที่ 3)

รูปแบบข้อมูลที่เก็บ จะเก็บเป็นประเภท........Process data และ Bottom line data..........................

วิธีการเก็บข้อมูล เก็บได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ (ถามคำถามน้องๆ) โดยข้อมูลจากการสังเกตน้องๆและการสัมภาษณ์จะเป็น process data ส่วน bottom line data จะเป็นข้อมูลให้กับตัวชี้วัด 1

หน้าที่ของแต่ละคน (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
     กัส................สังเกตผู้ใช้
     ติว................สังเกตผู้ใช้
     วิสา..............สัมภาษณ์ผู้ใช้
     วรรณ...........สัมภาษณ์ผู้ใช้

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560

อัพเดทงานปัจจุบัน

งานที่เสร็จเเล้ว
-โครงสร้างหลักของตู้
      


มีรางให้ลูกบอลไหล 1รางต่อ1หลุม 
ลูกบอลที่ใช้มีทั้งหมด 4 สี (ม่วง เหลือง น้ำเงิน แดง) แทน 4 หมู่เลือด
มีผ้าสีดำที่เย็บแล้ว ไว้ทำเป็นห้องมืด
-ไฟ LED ที่ปากหลุม

-หน้าจอDOT_MATRIX เซนเซอร์สี  relayคุมไฟRGB
งานที่เหลืออยู่
- บอร์ดคุมMP3 เเละวงจร7-SEGMENT
- ฐานติดเซนเซ่อร์เเละmicroSwitch ติดตั้งกับตัวตู้
- communicationระหว่างบอร์ด
-ส่วนตกแต่งตู้

วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

dimension and assembly

การทำโครงสร้างตู้
โครงสร้างตู้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนตู้และเสาขึงผ้าดำ

ส่วนตู้ :
     โครงสร้างหลักของตู้ประกอบขึ้นมาจากเหล็กฉาก เนื่องจากขนาดตู้ที่คิดไว้มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะใส่ลิฟท์ได้ และไม่สามารถขนย้ายไปไหนได้ จึงเลือกเหล็กรูซึ่งประกอบง่ายเเละใช้เวลาไม่นาน แต่ก็เเลกกับราคาที่สูงขึ้นตาม บางส่วนจึงเสริมด้วยไม้โครงเพื่อรับน้ำหนักต่างๆ รวมถึงทำส่วนหลุมโยนลูกบอลทางลาดให้ลูกบอลเวียนกลับมาที่เดิมฐานติดวงจรกับเซนเซอร์ เเละปิดตู้ด้วยไม่แผ่นสกรูติดกับเหล็ก

ขนาดของตู้ที่ทำไว้ตอนเเรก อ้างอิงมาจากขนาดตู้โยนบาสตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป เเต่เมื่อนำมาประกอบเเล้วพบว่าตู้มีขนาดสูงเกินไปสำหรับเด็ก อ้างอิงมาจากความสูงของพื้นถึงพื้นที่หยิบลูกบอล จึงคาดว่าน่าจะทำฐานเสริมให้เด็กเล็กยืนเล่นได้สะดวกขึ้น



          





ส่วนผ้าคลุมตู้ และเสา :
     ผ้าคลุม จะใช้ผ้าสีดำ เพื่อกันแสงจากภายนอก ทำให้ไฟ LED สว่างและเห็นชัดเจนขึ้น

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

user diagram

หลังจากfinal sketch แบบตู้และไอเดียวงจรระบบคร่าวๆ จึงนำการออกแบบมาออกแบบ user interfaceของตู้และการตอบโต้แบบต่างๆ เพื่อนำมาลองเขียน menu ที่เป็นdot matrix จาก flowchart ที่ออกแบบไว้ -แต่เนื่องจากตอนแรกที่จะแยกบอร์ดneucleoหนึ่งตัวมาสั่งการdot matrix MAX7219 8 ตัว แต่เนื่องจากปัญหา library ที่ใช้ไม่อัพเดท จึงเปลื่ยนไปใช้ arduino uno r3 ในการสั่งการ dot matrix แทน ตัวอย่างการสั่งการdot matrixผ่านserial

ตัวอย่างวิดิโอแสดงการทำงาน